ซูเปอร์โนวา ถูกค้นพบครั้งแรกในปีคศ. 185 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ตามบันทึกเขียนไว้ว่า ซูเปอร์โนวานี้ส่องสว่างนานอยู่แปดเดือนกว่าจะหายไปจากท้องฟ้า บันทึกนี้ สอดคล้องกับผลการสังเกตการณ์โดยนักดาราศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งสามารถค้นพบเศษของซูเปอร์โนวาได้ในบริเวณกลุ่มดาวที่นักดาราศาสตร์จีนได้บันทึกเอาไว้ และได้ตั้งชื่อไว้ว่า SN 185

SN 185
กลไกของการเกิดซูเปอร์โนวา แบ่งเป็นสองพวกหลักๆ แบ่งตามลักษณะการเกิด คือ
-ชนิด Ia
เกิดจากระบบดาวคู่ ซึ่งดาวดวงหนึ่ง ได้กลายเป็นดาวแคระขาว ในขณะที่ดวงดาวคู่ ได้กลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้ดาวแคระขาวสามารถดึงมวลสารจากดาวยักษ์แดงที่คู่กันได้ ตามหลักการ ดาวแคระขาวไม่สามารถมีมวลได้มากเกินกว่าค่าหนึ่ง(1.44 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) หลังจากที่ดาวแคระขาวได้ดึงดูดมวลสารจนมีมวลเกินค่าขีดจำกัดแล้ว ดาวแคระขาวไม่สามารถรักษาสภาพเดิมได้ จึงเกิดการยุบตัวของแกนกลาง ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดปฎิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากปฎิกิริยานิวเคลียร์นี้เองที่เป็นตัวทำลายพลังงานยึดเหนี่ยวของดาวแคระขาว ทำให้มวลสารทั้งหลายถูกขับออกมาทำให้เห็นเป็นเศษซากการระเบิด
ลักษณะเฉพาะตัวของซูเปอร์โนวาชนิดนี้ คือ เราจะไม่พบไฮโดรเจน เพราะว่า ดาวแคระขาวประกอบด้วยธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจน เช่น ฮีเลียม คาร์บอน ออกซิเจน เศษซากการระเบิดนี้ เราจึงไม่พบสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนเลย
SN 1006 ซึ่งเป็นซากการระเบิดของซูเปอร์โนวาชนิด Ia
- ชนิด II, ชนิด Ib, ชนิด Ic
ทั้งสามชนิดนี้ มีกลไกการเกิดที่เหมือนกัน คือ เกิดจากดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก(มากกว่า 10 เท่าของดวงอาทิตย์) เนื่องจากดาวฤกษ์มีขนาดใหญ่มาก ช่วงระยะสุดท้ายก่อนที่ดาวฤกษ์จะระเบิด ภายในดาวฤกษ์จะประกอบด้วยชั้นของธาตุหนักซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของการเผาผลาญของปฎิกิริยานิวเคลียร์ โดยที่ การเผาผลาญจะไปสิ้นสุดที่เหล็ก เนื่องจากเหล็กเป็นธาตุที่พลังงานยึดเหนี่ยต่อนิวคลีออนสูงสุด จึงไม่สามารถเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อไปอีกได้
ระดับชั้นของธาตุหนักภายในดาวฤกษ์ก่อนระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา
เมื่อแกนกลางที่เป็นเหล็กของดาวฤกษ์นั้น มีมวลเท่ากับขีดจำกัดแล้ว แกนกลางจะเกิดการยุบตัวลง การยุบตัวเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ทำให้เกิดคลื่นกระแทก ที่ผลักให้มวลสารชั้นนอกหลุดออกไปให้เห็นเป็นเศษซากการระเบิด
crab nebula เป็นซากการระเบิดของซูเปอร์โนวาชนิด II
-http://en.wikipedia.org/wiki/Supernova
-Lecture note in "Stars : Physics and Evolution"(also in french), Nicolas Prantzos